วันเสาร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2553

หนังสือของดิวอี้


บ้านหนังสือ..ได้จัดเรียงหมวดหมู่หนังสือในรูปแบบ ของดิวอี้

ประวัติย่อของ เมลวิล ดิวอี้

เมลวิล ดิวอี้ เกิดเมื่อ ๑๐ ธันวาคม ค.ศ.๑๘๕๑
( พ.ศ. ๒๓๙๔ ตรงกับสมัยรัชกาลที่ ๔ )

ที่ อดัม เซนเตอร์ ใกล้กับเมืองอาเตอร์ ทาวน์ รัฐนิวยอร์ก
พ่อชื่อโจแอล แม่ชื่อ เอลิซ่า กรีน ดิวอี้

เป็นน้องสุดท้องในจำนวน ๕ คน ปู่ชื่อโทมัส ดิวอี้ เป็นชาวอังกฤษ ที่อพยพไปอยู่ที่สหรัฐอเมริกา รัฐแมสซาซูเซตส์ เมื่อปี ค.ศ. ๑๖๓๐

เมื่อวัยเด็กครอบครัวของดิวอี้มีความสนิทสนมกับ หลุยส์ คอสซุท ชาวฮังการี
ที่อพยพไปอยู่ที่นั้นเช่นกัน หลุยส์รักเด็กชายเมลวิลมาก และได้ให้เอาชื่อตนเองผนวกไว้กับชื่อเมลวินด้วยในตอนเด็กเมลวิลจึงมีชื่อเต็มว่า Meville Louis Kossuth Deway

แต่ภายหลังเมื่อโตขึ้น
ดิวอี้ได้ตัดชื่อของตนให้สั้นลงแม้แต่ชื่อต้นก็ตัดคำว่า leของท้ายออก เหลือเพียง Mevil Deway ดิวอี้แต่งงานกับ แอนี โรเบิร์ตส์ ก็อดฟรีย์ บรรณารักษ์ห้องสมุดวิทยาลัยเวลเลสลี เมื่อ
วันที่ ๑๙ ตุลาคม ค.ศ.๑๘๗๘ มีบุตรชาย ๑ คน ตั้งชื่อว่า ก็อดฟรีย์ตามสกุลเดิมภรรยา จนเมื่อปี ค.ศ. ๑๙๒๒ แอนี เสียชีวิตลง ในปี ค.ศ. ๑๙๒๔ ดิวอี้จึงแต่งงานใหม่กับเอมิลี แม็กเค็น บีน ในด้านการศึกษาดิวอี้จบการศึกษาระดับปริญาตรีจาก Amherst College เมื่อปี ค.ศ. ๑๘๗๔ ได้รับปริญญาดุษฎีบัณทิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัย Syracuse และมหาวิทยาลัย Alfred เมื่อปี ค.ศ. ๑๙๐๒

ผลงานที่สำคัญของดิวอี้ที่ริเริ่มไว้ให้แก่วงวิชาชีพบรรณารักษศาสตร์ คือ



๑. คิดแผนการแบ่งหมู่หนังสือระบบทศนิยมขึ้น และมีการใช้อย่างแพร่หลายในห้องสมุดโรงเรียนทั่วไป
๒. ริเริ่มออกวารสาร Library Journal ซึ่งเป็นวารสารในวิชาชีพบรรณารักษศาสตร์ เป็นสื่อกลางที่เปิดโอกาส
ให้บรรณารักษ์ได้แลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็น

๓. ก่อตั้งสมาคมห้องสมุดอเมริกันขึ้น ซึ่งเป็นสมาคมวิชาชีพที่สำคัญ ทำให้วิชาชีพบรรณารักษศาสตร์ได้รับ
การยอมรับจากสังคม


ดิวอี้ถึงแก่กรรมเมื่อ ๒๖ ธันวาคม ค.ศ. ๑๙๓๑ รวมอายุได้ ๘๐ ปีเศษ



ระบบทศนิยมดิวอี้ (Dewey Decimal Classification)

เรียกย่อๆ ว่า D.C. หรือ
D.D.C เป็นระบบการจัดหมวดหมู่หนังสือในห้องสมุดที่นิยมระบบหนึ่ง คิดค้นขึ้นโดยชาวอเมริกัน เมลวิล ดิวอี้ ในขณะที่เขา กำลังเป็นผู้ช่วยบรรณารักษ์อยู่ที่วิทยาลัยแอมเฮอร์ส (Amherst College)

การจัดหมวดหมู่หนังสือตามระบบทศนิยมของดิวอี้ แบ่งหนังสือออกเป็นหมวดหมู่ต่างๆ จากหมวด
หมู่ใหญ่ไปหาหมวดหมู่ย่อย

การแบ่งหมวดหมู่ครั้งที่ ๑ (หมวดหมู่ใหญ่)

เป็นการแบ่งหมวดหมู่หนังสือครั้งที่ ๑ โดยแบ่งตามประเภทของสรรพวิชาใหญ่ๆ ๑๐ หมวด
โดยใช้ตัวเลขหลักร้อยเป็นตัวบ่งชี้

๐๐๐ เบ็ตเตล็ดหรือความรู้ทั่วไป (Generalities)
วิชาความรู้ที่ไม่อาจจัดไว้ในหมวดใดๆ


๑๐๐ ปรัชญา (Philosophy)
เป็นวิชาที่มนุษย์ต้องการทราบว่า ตนคือใคร เกิดมาทำไม


๒๐๐ ศาสนา(Religion)
วิชาที่มนุษย์ต้องการค้นหาความจริงที่ทำให้เกิดทุกข์ และความ
หลุดพ้นจากความทุกข์

๓๐๐ สังคมศาสตร์ (Social sciences)
วิชาที่กล่าวถึงความสำพันธ์ของมนุษย์ เมื่อมนุษย์
มาอยู่รวมกันเป็นสังคมขึ้นมา

๔๐๐ ภาษาศาสตร์ (Language)
วิชาที่ช่วยในการสื่อสาร ทำให้มนุษย์เข้าใจซึ่งกันและกัน


๕๐๐ วิทยาศาสตร์ (Science)
วิชาที่มนุษย์ต้องการทราบความจริงของธรรมชาติ


๖๐๐ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ หรือเทคโนโลยี (Technology)
วิชาที่มนุษย์เอาความรู้เกี่ยวกับ
ความจริงของธรรมชาติมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์กับตน

๗๐๐ ศิลปกรรมและการบันเทิง (Arts and recreation)
วิชาที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อความบันเทิงใจของตน


๘๐๐ วรรณคดี (Literature)
วิชาที่มนุษย์ต้องการแสดงความคิด ความประทับใจไว้ด้วย
สัญลักษณ์ที่เป็นตัวอักษร

๙๐๐ ประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์ (History and geography)
วิชาที่ได้บันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
ในยุกต์สมัยต่างๆ เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้รับทราบ

เมื่อแบ่งความรู้ได้ 9 หมวดแล้ว พบปัญหาความรู้บางเรื่องไม่สามารถจะจัดลงใน 9 หมวดที่แบ่งไว้แล้วได้ ดิวอี้ จึงเพิ่มหมวดพิเศษขึ้นมาอีกหมวดเป็น หมวดทั่วไป หรือ หมวดเบ็ดเตล็ด เป็นการรวมเอาความรู้ท่ีไม่อาจจัดลงในหมวดอื่น ได้มาไว้ในหมวดนี้ ดังนั้น จึงรวมเป็น 10 หมวดใหญ่

ส่วนสัญลักษณ์ท่ีนำมาแทนเนื้อหาความรู้นั้น ดิวอี้เลือกใช้ตัวเลขที่คนทั่วไปใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวัน โดยมีการสรุปหด้คือ ใช้ตัวเลขสามหลัก หากตัวเลขมากกว่าสามหลักให้จุดทศนิยมหลังหลักที่สาม



การแบ่งหมวดหมู่ครั้งที่ ๒ (หมวดหมู่ย่อย)
เป็นการแบ่งหมวดหมู่หนังสือครั้งที่ ๑ โดยแบ่งตามประเภทของสรรพวิชาใหญ่ๆ ๑๐ หมวด โดยใช้ตัวเลขหลักร้อยเป็นตัวบ่งชี้เป็นการแบ่งหมวดหมู่หนังสือครั้งที่ ๒ โดยแบ่งออกเป็นอีก ๑๐ หมวดย่อย โดยใช้ตัวเลขหลักสิบเป็นตัวบ่งชี้ รวมเป็น ๑๐๐ หมวดย่อย

000 เบ็ตเตล็ดหรือความรู้ทั่วไป
  • 010 บรรณานุกรม
  • 020 บรรณารักษศาสตร์ และสารนิเทศศาสตร์
  • 030 สารานุกรมไทยทั่วไป
  • 040 ความเรียงทั่วไป
  • 050 วารสารทั่วไป
  • 060 สมาคมและพิพิธภัณฑ์ทั่วไป
  • 070 วารสารศาสตร์ การพิมพ์ หนังสือพิมพ์
  • 080 ชุมนุมนิพนธ์
  • 090 ต้นฉบับตัวเขียนและหนังสือหายาก

100 ปรัชญา
  • 110 อภิปรัชญา
  • 120 ความรู้ในด้านปรัชญา
  • 130 จิตวิทยาสาขาต่างๆ
  • 140 ปรัชญาระบบต่างๆ
  • 150 จิตวิทยา
  • 160 ตรรกวิทยา
  • 170 จริยศาสตร์
  • 180 ปรัชญาตะวันออก ปรัชญาสมัยกลางและสมัยโบราณ
  • 190 ปรัชญาสมัยปัจจุบัน


200 ศาสนา
  • 210 ศาสนาธรรมชาติ
  • 220 คัมภีร์ไบเบิล
  • 230 เทววิทยาเชิงคริสต์ศาสน์
  • 240 เทววิทยาเชิงปฏิบัติ
  • 250 เทววิทยาเกี่ยวกับบรรพชิต
  • 260 เทววิทยาทางการศาสนา
  • 270 ประวัติศาสตร์ศาสนาในประเทศต่าง ๆ
  • 280 คริสต์ศาสนาและนิกายต่าง ๆ
  • 290 ศาสนาอื่น ๆ ที่ไม่ใช่คริสต์ศาสนา ศาสนาเปรียบเทียบ

300 สังคมศาสตร์
  • 310 สถิติ
  • 320 รัฐศาสตร์
  • 330 เศรษฐศาสตร์
  • 340 กฎหมาย
  • 350 รัฐประศาสนศาสตร์
  • 360 สวัสดิภาพสังคม
  • 370 การศึกษา
  • 380 การพานิชย์
  • 390 ขนบธรรมเนียมประเพณี นิทานพื้นเมือง


400 ภาษาศาสตร์
  • 410 ภาษาศาสตร์
  • 420 ภาษาอังกฤษ
  • 430 ภาษาเยอรมัน
  • 440 ภาษาฝรั่งเศส
  • 450 ภาษาอิตาเลียน
  • 460 ภาษาสเปนและโปรตุเกส
  • 470 ภาษาลาติน
  • 480 ภาษากรีก
  • 490 ภาษาอื่นๆ


500 วิทยาศาสตร์
  • 510 คณิตศาสตร์
  • 520 ดาราศาสตร์
  • 530 ฟิสิกส์
  • 540 เคมี
  • 550 ศาสตร์ว่าด้วยพื้นโลก
  • 560 ชีววิทยา
  • 570 วิทยาศาสตร์ชีวภาพ
  • 580 พฤกษศาสตร์
  • 590 สัตววิทยา


600 วิทยาศาสตร์ประยุกต์ หรือเทคโนโลยี
  • 610 แพทยศาสตร์
  • 620 วิศวกรรมศาสตร์
  • 630 เกษตรศาสตร์
  • 640 คหกรรมศาสตร์
  • 650 บริหารธุรกิจ
  • 660 อุตสาหากรรมเคมี
  • 670 โรงงานอุตสาหกรรม
  • 680 สินค้าที่ผลิตจากเครื่องจักร
  • 690 การก่อสร้าง


700 ศิลปกรรมและการบังเทิง
  • 710 สถาปัตยกรรมนอกอาคาร
  • 720 สถาปัตยกรรม
  • 730 ประติมากรรม
  • 740 มัณฑนศิลป และการวาดเขียน
  • 750 จิตรกรรม
  • 760 การจำลองภาพจิตรกรรม
  • 770 การถ่ายรูปและถ่ายภาพ
  • 780 ดนตรี
  • 790 การบันเทิงและการแสดง


800 วรรณคดี
  • 810 วรรณคดีอเมริกัน
  • 820 วรรณคดีอังกฤษ
  • 830 วรรณคดีเยอรมัน
  • 840 วรรณคดีฝรังเศส
  • 850 วรรณคดีอิตาเลียน
  • 860 วรรณคดีสเปนและโปรตุเกส
  • 870 วรรณคดีละติน
  • 880 วรรณคดีกรีก
  • 890 วรรณคดีภาษาอื่น ๆ


900 ภูมิศาสตร์
  • 910 ภูมิศาสตร์และการท่องเที่ยว
  • 920 ชีวประวัติและสกุลวงศ์
  • 930 ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ
  • 940 ประวัติศาสตร์ยุโรป
  • 950 ประวัติศาสตร์ทวีปเอเซีย
  • 960 ประวัติศาสตร์ทวีปแอฟริกา
  • 970 ประวัติศาสตร์อเมริกาเหนือ
  • 980 ประวัติศาสตร์อเมริกาใต้
  • 990 ประวัติศาสตร์แถบมหาสมุทรและแถบขั้วโลกทั้งสอง นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย นิวกินี (ปาปัว) และหมู่เกาะต่าง ๆ ในแถบนั้น


สัญลักษณ์พิเศษที่กำหนดใช้แทนเลขหมู่
หมายถึง หนังสือนวนิยาย
ร.ส. หมายถึง เรื่องสั้น
หมายถึง หนังสือเยาวชน
หมายถึง หนังสือแบบเรียน
หมายถึง หนังสืออ้างอิง
C.L. (Curriculum Laboratory) หมายถึง หนังสือแบบเรียน
F (Fiction) หมายถึง หนังสือนวนิยายที่เป็นภาษาอังกฤษ
J (Juvenile) หมายถึง หนังสือเยาวชนที่เป็นภาษาอังกฤษ
S.C. (Short Storie Collection) หมายถึง หนังสือเรื่องสั้นภาษาอังกฤษ
R (Reference) หมายถึง หนังสืออ้างอิงภาษาอังกฤษ

อ้างอิง : พิลาวัณย์ อินทรสุขศรี บรรณารักษ์ 7ว, คู่มือปฏิบัติงานในบ้านหนังสือ, กลุ่มงานพัฒนาห้องสมุดประชาชน กองนันทนาการ สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น